RSS

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กล้วยไม้สกุลแวนด้า

แวนด้าเป็นกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล ไม่แตกกอ เจริญเติบโตไปทางยอด รากเป็นรากอากาศ ใบมีลักษณะกลม แบนหรือร่อง ใบซ้อนสลับกัน ช่อดอกจะออกด้านข้างของลำต้นสลับกับใบ ช่อดอกยาวและแข็ง กลีบนอกและกลีบในมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน โคนกลีบแคบ และไปรวมกันที่โคนเส้าเกสร กลีบดอกในล่างด้านใต้มีเดือยแหลมยื่นออกมาเป็นส่วนท้ายของปากกระเป๋า ปากกระเป๋าของแวนด้าเป็นแบบธรรมดาแบนเป็นแผ่นหนาแข็ง และพุ่งออกด้านหน้า รูปลักษณะคล้ายช้อน หูกระเป๋าทั้งสองข้างแข็งและตั้งขึ้น สีดอกมีมากมายแตกต่างกันตามแต่ละชนิด
กล้วยไม้สกุลแวนด้าพบในป่าตามธรรมชาติประมาณ 40 ชนิด มีกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเซีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดนีเซีย จนถึงฟิลิปปินส์ แวนด้าได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นอีกหลายพันธุ์ ปัจจุบันได้มีการจำแนกประเภทของแวนด้า โดยอาศัยรูปร่างลักษณะของใบออกเป็น 4 ประเภท คือ

แวนด้าใบกลม มีลักษณะของใบกลมยาวทรงกระบอก ต้นสูง ข้อห่าง สังเกตได้ที่ใบติดอยู่ห่างๆ กัน มีดอกช่อละหลายดอก แต่ดอกจะบานติดต้นอยู่คราวละ 2–3 ดอกเท่านั้น เมื่อดอกข้างบนบานเพิ่มขึ้น ดอกข้างล่างจะโรยไล่กันขึ้นไปเรื่อยๆ การปลูกใช้ดอกจึงนิยมปลิดดอกมากกว่าตัดดอกทั้งช่อ

แวนด้าใบแบน ลักษณะใบแผ่แบนออก ถ้าตัดมาดูหน้าตัดจะเป็นรูปตัววี มีข้อถี่ปล้องสั้น ใบซ้อนชิดกัน ปลายใบโค้งลงและจักเป็นแฉก

แวนด้าใบร่อง มีรูปทรงของใบและลำต้นคล้ายใบแบนมากกว่าใบกลม แวนด้าประเภทนี้ไม่พบในป่าธรรมชาติ การนำมาปลูกเลี้ยงเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งสิ้น โดยนำแวนด้าใบกลมมาผสมกับแวนด้าใบแบน

แวนด้าก้างปลา มีรูปทรงของใบและลำต้น กิ่งใบกลมกับใบแบน พบตามป่าธรรมชาติน้อยมาก เพราะกล้วยไม้พันธุ์นี้เป็นหมันทั้งสิ้น

ในบรรดาแวนด้าทั้ง 4 ประเภทนี้ แวนด้าใบกลมเป็นแวนด้าที่เลี้ยงง่ายที่สุด สามารถปลูกลงแปลงกลางแจ้งได้โดยไม่ต้องมีโรงเรือน แต่ดอกมักจะบานไม่ทน ส่วนที่เลี้ยงยากที่สุดคือ แวนด้าใบแบน มีหลายพันธุ์ ทั้งดอกใหญ่และดอกเล็ก แต่ที่ได้รับความนิยมได้แก่ ฟ้ามุ่ย เพราะดอกใหญ่ สีสวย การเลี้ยงแวนด้าใบแบนจำเป็นต้องมีโรงเรือนเพราะต้องการแสงที่พอเหมาะ สำหรับแวนด้าใบร่องเป็นลูกผสมระหว่างใบกลมและใบแบน ถูกผสมขึ้นเพื่อให้ปลูกเลี้ยงง่ายขึ้น แต่ดอกมักจะสีไม่สวยและปากหักง่าย


เทคนิคเลี้ยงกล้วยไม้สกุลแวนด้า


เกษตรกรที่คิดจะเลี้ยงกล้วยไม้ในเชิงพาณิชย์มักจะตั้งโจทย์เริ่มต้นว่าปลูกเลี้ยงยากทำให้เกิดความท้อเสียก่อน แต่ในความเป็นจริงแล้วกล้วยไม้จัดเป็นไม้ดอกที่ปลูกเลี้ยงง่ายเพียงแต่ “มีน้ำใจให้เขาเท่านั้นเอง” หรืออาจจะกล่าวง่าย ๆ คือเริ่มต้นจากใจรักแล้วค่อย ๆ เรียนรู้ไป ความหมายของน้ำใจก็คือมีการเอาใจใส่ให้ปุ๋ยให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

อย่างกรณีของกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยถ้าเป็นเกษตรกรทั่วไปจะเลี้ยงและให้ดอกเพียงปีละครั้งเท่านั้น แต่ที่สวนกันติกานต์ของคุณเกรียงศักดิ์ กันติกานต์ เกษตรกรจังหวัดพิจิตร มีการบำรุงและดูแลรักษาอย่างดีจะให้ดอกได้ถึงปีละ 3 ครั้ง ที่สวนกล้วยไม้กันติกานต์ส่วนใหญ่จะเลี้ยงกล้วยไม้ลูกผสม คุณเกรียงศักดิ์บอกว่าลักษณะของกล้วยไม้แวนด้าลูกผสมที่ดีจะต้องมีลักษณะดัง นี้ “ก้านช่อจะต้องมีขนาดใหญ่และยาว กลีบดอกจะต้องแข็ง บานทนอย่างน้อย 1 เดือนขึ้นไป”

สำหรับการปลูกกล้วยไม้แวนด้าในเชิงพาณิชย์นั้น คุณเกรียงศักดิ์บอกว่า ชนิดของ “แสลน” หรือตาข่ายพรางแสง มีความสำคัญมาก ในแต่ละอายุของกล้วยไม้สกุลแวนด้าจะใช้แสลนที่แตกต่างกันอย่างเช่น ไม้เล็กตั้งแต่ออกจากขวดเลี้ยงจนมีอายุต้นได้ 1 ปี จะใช้แสลนสีดำพรางแสง 70% รับแสงแดดเพียง 30% สำหรับไม้ใหญ่ของกล้วยไม้สกุลแวนด้าจะใช้แสลน 60% แต่ถ้าเป็นกล้วยไม้ไทยและกล้วยไม้สกุลแคทลียาจะใช้ตาข่ายพรางแสง 50%

แต่เดิมที่สวนกันติกานต์จะใช้น้ำประปา แต่ต้นทุนสูงมาก ในแต่ละเดือนเฉพาะต้นทุนค่าน้ำประปาเพื่อให้กับต้นกล้วยไม้ในพื้นที่เพียง 2 ไร่เศษ ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน โดยเฉพาะถ้าปลูกแวนด้าและม็อคคาร่าเพื่อตัดดอกขายจะใช้น้ำมาก ปัจจุบันจึงเปลี่ยนมาใช้น้ำจากแม่น้ำน่าน หลักการสำคัญของการให้น้ำของสวนกันติกานต์คือจะให้เช้า-เย็น แต่ถ้าอากาศครึ้ม ๆจะให้เพียงรอบเช้ารอบเดียว ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวจะให้ เช้า-เย็น ให้น้ำแบบสปริงเกอร์ ให้นาน 3 นาทีต่อ 1 รอบ

การให้ปุ๋ยกับกล้วยไม้สกุลแวนด้าของสวนกันติกานต์นั้นจะเน้นการฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ดทางใบโดยเลือกสูตรปุ๋ยที่ฉีดพ่นตามหลักการทั่วไปคือ ถ้าเร่งการเจริญ เติบโตจะเลือกสูตรที่มีไนโตรเจนสูง หรือสูตรเสมอ แต่ถ้าเร่งดอกจะเน้น ฟอสฟอรัสและถ้าเน้นสีของดอกจะเน้นโพแทสเซียมอย่างนี้เป็นต้น แต่สูตรปุ๋ยทางใบที่สวนกันติกานต์ใช้ฉีดพ่นในแต่ละครั้งจะต้องมีอัตรารวมกันของธาตุหลักไม่ต่ำกว่า 60 เช่น ฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ดสูตร 21-21-21 มีธาตุไนโตรเจน, ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมรวมกันเท่ากับ 63.



อ้างอิง
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2552
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=568&contentID=32924
http://www.panmai.com/Orchid/V/v.shtml
http://images.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2&imgurl=http://picdb.thaimisc.com/s/sanguanmaejo25/585-114.jpg&imgrefurl=http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php%3Fuser%3Dsanguanmaejo25%26topic%3D585%26page%3D12&usg=__CZd_ixucchgXC6SilL-pGxXPJGQ=&h=389&w=340&sz=95&hl=th&sig2=_JR7inILEItk8soGcwHKKg&um=1&itbs=1&tbnid=NmqjEszbqo7yLM:&tbnh=123&tbnw=108&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2594%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%26um%3D1%26hl%3Dth%26newwindow%3D1%26sa%3DX%26tbs%3Disch:1&ei=aeB_S_KGCIXCrAeJ__HLBA&um=1&newwindow=1&sa=X&tbs=isch:1&start=0#tbnid=Ss8mCJw59kMHvM&start=28

ประวัติของข้าพเจ้า

ชื่อ นางสาวระติมา ทักขิโน ชื่อเล่น ยุ้ย
รหัสนิสิต50010215042
สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
จบระดับประถมโรงเรียนชุมชนบ้านดอนนางงาม
จบมัธยมโรงเรียนนางรอง
กำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นิสัย ร่าเริง สดใส พูดเก่ง สนุกสนาน
การเรียนขณะที่อยู่มัธยมปลายข้าพเจ้าตั้งใจเรียนเป็นอย่างมาก เพราะว่าโรงเรียนข้าพเจ้าเข้มงวดเรื่องการเรียนเป็นอย่างมาก
ข้าพเจ้าเข้ามหาวิทยาลัยเลยต้องขอบคุณดรงเรียนเป็นอย่างมากที่ทำให้ข้าพเจ้ามีพื้นฐานที่ดี การเรียนมหาวิทยาลัยก็ยากมากแต่จะตั้งใจสู้ๆๆๆๆๆๆ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาของกล้วยไม้

ประวัติความเป็นมาของกล้วยไม้


กล้วยไม้มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "orchid" น่าแปลกที่ทั้งในภาษาไทยและอังกฤษต่างก็มีความหมายใกล้เคียงกัน เราเรียกพืชชนิดนี้ว่า กล้วยไม้ เพราะมีลักษณะ คล้ายกล้วย ได้แก่เอื้องต่าง ๆ เช่น เอื้องผึ้ง หรือเอื้องคำ ซึ่งมีมากในแถบภาคเหนือของประเทศ ส่วนของกล้วยไม้บางตอนมีลักษณะคล้ายผลกล้วยเราเรียกว่า ลำลูกกล้วย คำ "orchid" นั้น มาจากภาษากรีกหมายความถึงลักษณะโป่งเป็นกระเปาะคล้ายต่อมชื่อนี้ก็คงจะได้มาจากการพิจารณาจากลำลูกกล้วยที่เป็นส่วนของกล้วยบางชนิดเช่นเดียวกันแต่ลักษณะพื้นฐานทาง พฤกษศาสตร์ ที่บรรยายลักษณะพืชในวงศ์กล้วยไม้ ได้ยึดถือรายละเอียดต่าง ๆ ของดอกเป็นหลักสำคัญพันธุ์ไม้ในวงศ์กล้วยไม้ด้วย
กล้วยไม้มีสภาวะความเป็นอยู่ตามธรรมชาติแตกต่างกัน บางชนิดอยู่บนพื้นดินบางชนิดอยู่บนต้นไม้ และบางชนิดขึ้นอยู่บนหินที่มีหินผุและใบไม้ผุ ตกทับถมกันอยู่ ทั้งนี้สุดแล้วแต่ลักษณะและอุปนิสัยของกล้วยไม้แต่ละชนิด ซึ่งจะปรับตัวตามความเหมาะสมกับสภาวะและการเปลี่ยนแปลงตามสภาพต่าง ๆ ของธรรมชาติที่แวดล้อม






กล้วยไม้แต่ละชนิดต่างก็มีลักษณะและระบบของรากที่เข้ากับสิ่งที่ไปอาศัยพักพิงอยู่อย่าง เหมาะสมที่สุด กล้วยไม้ชนิดที่ขึ้นอยู่ บนดินรากจะมีลักษณะเป็นหัวและอวบอิ่มไปด้วยน้ำจึงมีศัพท์ เฉพาะที่บรรยายลักษณะของรากเช่นนี้ว่า "อวบน้ำ" กล้วยไม้ประเภทนี้มีอยู่
หลายสกุล เช่น สกุลฮาเบนาเรีย (Habenaria )เพ็คไทลิส ( Pecteilis ) และ แบรคคีคอไรทิส (Brachycorythis ) ซึ่งในประเทศที่มี ฤดูหนาวมีหิมะตกทับถมบนพื้นดินหนามาก และเป็นเวลานานหลายเดือนด้วย แต่กล้วยไม้เหล่านี้ก็คงทนอยู่ได้เนื่องจากมีความสามารถพิเศษ ในการปรับ ลักษณะของตัวเองให้ เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของฤดูกาลที่ปรากฏเป็นประจำในรอบปีได้ กล่าวคือเมื่อ ถึงฤดูที่อากาศหนาว จัดหรือแห้งจัดต้นและใบที่อยู่เหนือพื้นดินจะแห้งไป คงเหลือแต่หัวฝังตัวอยู่ภาย ใต้ผิวดินครั้งพอถึงฤดูที่สภาพแวดล้อม เหมาะสมก็จะเจริญขึ้นมาเป็นต้นและใบเมื่อเจริญเต็มที่ก็จะ ผลิดอกและสร้างหัวใหม่เพื่อเก็บสะสมอาหารไว้ใต้ผิวดินอีกเมื่อหัวใหม่เจริญเต็ม ที่ส่วนต้น ใบ และดอกเหนือผิวดินก็จะถึงเวลาแห้งเหี่ยวพอดี ส่วนหัวจะพักรอเวลาที่อากาศเหมาะสมก็จะเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่ดังนี้เรื่อยไป นอกจากกล้วยไม้ดิน ซึ่งมีหัวเป็นที่สะสมอาหารใต้ดินแล้ว ยังมีกล้วยไม้ประเภทไม่มีหัวและชอบขึ้นอยู่บนหินภูเขาที่มีเศษหินผและเศษใบไม้ ผุทับถมกันอยู่หนาพอสมควรเป็นกล้วยไม้ในสกุลพาฟิโอเพดิลัม (Paphiopedilum ) หรือที่คนไทยเรียกกันว่า กล้วยไม้รองเท้านารี และยังมีบางประเภทซึ่งเกาะ อยู่บนคาคบไม้ ซึ่งจะพบได้ในเขตร้อน เช่น กล้วยไม้ในสกุล แวนดา (Vanda ) แคทรียา (Cattleya ) และ สกุล เดนโดรเบียม (Dendrobium ) หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่า สกุลหวาย กล้วยไม้ประเภทนี้จะมีลักษณะแปลกออกไปคือ มีรากใหญ่ ยาว และแตกแขนงรากอย่าง



อ้างอิงhttp://www.plc.rmutl.ac.th/html/ThaiOrchid/File_html/p1.htm
http://orchidth.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5.html
http://210.246.186.28/hort/database/orchid/history.html

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กล้วยไม้ตระกูลรองเท้านารี / Paphiopedilum

กล้วยไม้รองเท้านารี (Lady’s Slipper) เป็นกล้วยไม้สกุล Paphiopedilum มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น รองเท้านาง รองเท้าแตะนารี หรือ บุหงากะสุต ในภาษามาเลเซีย อันหมายถึงรองเท้าของสตรี เนื่องจากกลีบดอก หรือที่เรียกว่า “กระเป๋า” มีรูปร่างคล้ายกับรองเท้าของสตรีและรองเท้าไม้ของชาวเนเธอแลนด์ กระเป๋าของรองเท้านารีมีรูปร่างลักษณะและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
กล้วยไม้รองเท้านารี มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และเขตร้อนแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินเดีย ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และในประเทศไทยซึ่งพบกล้วยไม้รองเท้านารีขึ้นอยู่ในป่าทั่วๆ ไป บางชนิดเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพวกที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือซอกหินที่มีต้นไม้ใบหญ้าเน่าตายทับถมกัน เจริญงอกงามในที่โปร่ง ไม่ชอบที่รกทึบ แสงแดดส่องถึง
รองเท้านารี เป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอเช่นเดียวกับ หวาย คัทลียา และซิมบิเดียม ต้นที่แท้จริงเรียกว่า ไรโซม (เหง้า) ต้นหนึ่งหรือกอหนึ่งจะประกอบด้วยต้นย่อยหลายต้น รากออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักจะทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไป หน่อใหม่จะแตกจากตาที่โคนต้นเก่า มีลำต้นสั้นมาก แต่ไม่มีลำลูกกล้วย ใบมีขนาดรูปร่างต่างกันไป บางชนิดมีใบยาว บางชนิดใบตั้งชูขึ้น บางชนิดใบทอดขนานกับพื้น



บางชนิดใบมีลาย บางชนิดใบไม่มีลายแต่เป็นสีเดียวเรียบๆ การออกดอกจะออกที่ยอด มีทั้งชนิดออกดอกเป็นดอกเดี่ยว และออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกชั้นนอกกลีบบนมีขนาดใหญ่สะดุดตา ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะเชื่อมติดกันและมีขนาดเล็กลงจนส่วนปากบังมิดหรือเกือบมิด กลีบคู่ในซึ่งมีลักษณะเหมือนกันกางออกไปทั้ง 2 ข้างซ้ายขวาของดอก ส่วนกลีบในกลีบที่ 3 จะเปลี่ยนเป็น “กระเปาะ” คล้ายรูปรองเท้า กระเปาะนี้มีหน้าที่รับน้ำฝนตกลงไปเพื่อชะล้างเกสรตัวผู้ไปตัดกับแผ่นเกสรตัวเมีย กล้วยไม้สกุลนี้จะมีทั้งเกสรตัวผุ้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน แต่จะมีเส้าเกสรแตกต่างจากกล้วยไม้ทั่วๆ ไป คือ ที่ปลายสุดของเส้าเกสร แทนที่จะเป็นอับเรณูกลับเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งทางพฤษศาสตร์ถือเป็นเกสรที่เปลี่ยนรูปร่างไปใช้การไม่ได้ เรียกส่วนนี้ว่า “สตามิโนด” สำหรับเกสรตัวผู้ที่ใช้การได้มีอยู่ 2 ชุด โดยจะอยู่ถัดต่ำลงมาทั้ง 2 ข้างของเส้าเกสรข้างละ 1 ชุด ในแต่ละชุดจะมีอับเรณูลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ 2 อัน ถัดต่ำลงมาจากส่วนนี้อีกจะเป็นยอดเกสรตัวเมียซึ่งเป็นแอ่งลึกลงไปยึดติดกับเส้าเกสร (ปกติส่วนนี้จะถูกหูกระเป๋าโอบหุ้มเอาไว้จนมิด) ภายในมีน้ำเมือกเหนียวสำหรับยืดเกสรตัวผู้ที่ตกลงไปในแอ่ง รังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก ภายในรังไข่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นไข่อ่อน จนกระทั่งผสมเกสรแล้วจึงเกิดไข่อ่อนในรังไข่ รังไข่จะกลายเป็นฝักเมื่อฝักแก่จะแตกเมล็ดสามารถเจริญงอกงามเป็นต้ใหม่ได้
โดยธรรมชาติของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีทุกชนิด เมื่อออกดอกแล้วก็จะตายไป แต่ก่อนตายจะแตกหน่อทดแทน ซึ่งหน่อนี้ก็จะเจริญงอกงามเป็นต้นใหม่ต่อไป ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้รองเท้านารี ที่สำรวจพบ ได้แก่


อ้างอิง
http://www.radompon.com/resourcecenter/?q=node/54
http://www.panmai.com/Orchid/Paph/paph.shtml
http://omkoiresort.is.in.th/?md=content&ma=show&id=9

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

กล้วยไม้สกุลหวาย /Dendrobium



กล้วยไม้สกุลหวาย /Dendrobium


กล้วย ไม้สกุลหวายนับว่าเป็นสกุลที่ใหญ่ทีสุด เนื่องจากมีอยู่ตามธรรมชาติมากมาย หลายชนิดกว่ากล้วยไม้สกุลอื่น ๆ ซึ่งมีรูปร่างลักษณะทั้งดอก ใบ และลำลูกกล้วยไม้แตกต่างกันออกไปอย่างกว้างขวางเป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญ เติบโตและรูปทรงแบบแตกกอ คือ เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วย เมื่อลำต้นเจริญเต็มที่แล้วจะแตกหน่อเป็นลำใหม่และเป็นกอ
ลักษณะ ทั่ว ๆ ไปของดอก กลีบนอกบนและกลีบนอกคู่ล่างมีความยาวไล่เลี่ยกัน กล้วยไม้สกุลหวายมีอยู่ตามธรรมชาติมากมายหลายชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้ป่าของไทย ซึ่งเรียกว่าเอื้อง ก็จะอยู่ในสกุลหวาย แต่ในที่นี้จะนำมากล่าวเฉพาะหวายซึ่งเป็นกล้วยไม้ป่าของไทยกับหวายต่าง ประเทศบางชนิด ที่มีความสำคัญในด้านการตัดดอกเท่านั้น เช่น หวายมาดามปอมปาดัวร์ หวายซีซ่าร์ เอื้องผึ้ง เอื้องมอนไข่ เหลืองจันทบูร เป็นต้น


อ้างอิง
http://ruchaneegon.multiply.com/journal/item/109
http://bangkok-guide.z-xxl.com/?tag=%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=orchidman&month=05-2009&date=22&group=11&gblog=1

กล้วยไม้ตระกูลช้าง / Rhynchostylis





เมื่อพูดถึงช้าง คนส่วนใหญ่จะนึกถึงสัตว์บกตัวใหญ่มีงวงยาวๆ สำหรับในกล้วยไม้ เมื่อพูดถึงกล้วยไม้สกุลช้างมักจะนึกถึงกลิ่นดอกกล้วยไม้ที่หอม เป็นช่อยาวเหมือนงวงช้าง มีกล้วยไม้หลายชนิดที่ใช้ชื่อช้าง หรือคำที่มีความหมายเหมือนช้างมาตั้งเป็นชื่อ เช่น ช้างกระ พญาฉัตรทันฑ์ ช้างสารพี ซึ่งกล้วยไม้พวกนี้ส่วนใหญ่จะมีขนาดลำต้นและใบ ขนาดใหญ่
กล้วยไม้สกุลช้างมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 4 ชนิดคือ




1. ช้าง (Rhychostylis gigantea) ได้แก่พวกช้างกระ ช้างแดง ช้างเผือก ช้างส้ม ช้างพลาย ช้างประหลาด ช้างการ์ตูน
2. เขาแกะ (Rhy. coelestris)
3. ไอยเรศ (Rhy. retusa)
4. Rhy. rosae ที่พบทางประเทศมาเล ส่วนชื่อไทยอาจเรียกว่า ไอยเรศมาเล(?)




สำหรับกล้วยไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกับ ไอยเรศ แต่ลำต้นและใบมีสีแดง พบมาที่จังหวัดน่าน ทางจังหวัด ได้ตั้งชื่อว่า ไอยเรศน่าน (ไอยเรศแดง, ไอยเรศดำ) ซึ่งกำลังตรวจสอบอยู่ว่าจะเป็นชนิดใหม่หรือเปล่า
กล้วยไม้สกุลนี้มี่กลิ่นหอมมาก ยกเว้นในพวกไอยเรศที่มีกลิ่นหอมอ่อน ออกดอกช่วงเดือน ธันวาคม - กุมภาพันธ์ (ช้าง) เดือนมีนาคม - พฤษภาคม (เขาแกะ) และช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฏาคม(ไอยเรศ) เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย ออกดอกให้ชมทุกปี ปัจจุบันมีการนำมาผสมเป็นกล้วยไม้ลูกผสมมากมายที่มีความสวยงามและคุณค่าทาง เศษฐกิจ